จองที่พัก

Booking.com

ข้าราชการไทย เฮ!!!! กันทั่งประเทศ ผ่อนบ้านเดือนละ 4,800 บาท กับ“สินเชื่อบ้านธอส. เพื่อข้าราชการ”

ผ่อนบ้านเดือนละ 4,800 บาท กับ“สินเชื่อบ้านธอส. เพื่อข้าราชการ”

• 

ผ่อนบ้านเดือนละ 4,800 บาท กับ“สินเชื่อบ้านธอส. เพื่อข้าราชการ”
เพราะอยากให้คนไทยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ขณะนี้ ทางธอส.ได้ออกแพ็จเกจใหม่ “สินเชื่อบ้านข้าราชการ” มอบดอกเบี้ยต่ำคงที่นาน 4 ปี หรือเท่ากับ 3.25% ต่อปี กู้ 1 ล้านบาท ผ่อนเดือนละ 4,800 บาท
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง ในฐานะกำกับดูแลธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ทางธนาคารได้เปิดให้บริการสินเชื่อใหม่เพื่อช่วยเหลือข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษาและพนักงานรัฐวิสาหกิจกู้บ้านได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในระบบธนาคาร ภายใต้ “โครงการบ้าน ธอส.เพื่อข้าราชการ” วงเงิน 30,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-4 เท่ากับ MRR 3.5% ต่อปี หรือเท่ากับ 3.25% ต่อปี ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส. เท่ากับ 6.75% ต่อปี ปีที่ 5 จนตลอดอายุสัญญากู้ คิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR-1% ต่อปี ซึ่งสามารถยืนเรื่องคำขอกู้และทำนิติกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ (2 ก.ค) จนถึง 30 ธันวาคม 2559
โดยวัตถุประสงค์นั้น เพื่อให้กู้ซื้อ ปลูกสร้าง ต่อเติม ขยาย ซ่อมแซม ไถ่ถอน ซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์รอการขาย (NPA) ของ ธอส.พร้อมปลูกสร้าง กู้ชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 30 ปี
ด้านนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ส่วนของอัตราดอกเบี้ยของโครงการนี้ จะส่งผลให้ผู้กู้ที่เข้าร่วมโครงการ กรณีกู้ในวงเงิน 1 ล้านบาท มีภาระผ่อนเงินค่างวดในช่วง 4 ปีแรก เดือนละ 4,800 บาท หลังจากปีที่ 5 จนสิ้นสุดสัญญาผ่อนส่งเดือนละ 6,100 บาทเท่านั้น และที่สำคัญ โครงการนี้ยังผ่อนปรนเงื่อนไข โดยจะรับรีไฟแนนซ์ลูกหนี้จากธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ด้วย และปล่อยกู้กรณีสร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง โดยคาดว่า อัตราเงินเดือนของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยเฉลี่ยจะสามารถกู้เงินจากโครงการนี้ได้ประมาณคนละ 2 ล้านบาท แต่ธนาคารก็ไม่ได้กำหนดวงเงินกู้ขั้นสูงสุดไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ทางธอส.ได้มีการออกโครงการ ธอส.-กบข.เพื่อข้าราชการมาแล้ว 12 รุ่น สามารถปล่อยกู้ไปได้แล้ว 270,000 ราย ทำให้เหลือจำนวนข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.ที่จะกู้เงินจากโครงการดังกล่าวไม่มากนัก ธอส.จึงตัดสินใจออกโครงการใหม่เพื่อเปิดโอกาสให้แก่ข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ กรณีลูกค้าที่ดีของ ธอส.ที่กู้เงินจากธนาคารมาเป็นระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป ทางธอส.จะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความดี โดยอาจจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงเป็นกรณีพิเศษเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือมอบเงินสดเพื่อเป็นของขวัญแก่ลูกค้าที่ดีเหล่านี้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของธนาคาร สำหรับการปล่อยสินเชื่อในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ธอส.ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 64,000 ล้านบาท จากเป้าหมายตลอดทั้งปี 17,043 ล้านบาท.
อัพเดทข่าวอสังหาริมทรัพย์ ทางอีเมลส่งตรงจากเว็บไซต์อสังหาฯ อันดับ 1 ของเมืองไทยฟรี สมัครได้ที่นี้
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย สิณีวรรณ เทศปัญ กองบรรณาธิการ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ sineewan@ddproperty.com

คลังย้ำ...โครงการบ้านประชารัฐยังเดินหน้าต่อ!

คลังย้ำ...โครงการบ้านประชารัฐยังเดินหน้าต่อ!

Kanchana Paha • 
GHB
คลังยันเดินหน้าโครงการบ้านประชารัฐ หลังหารือสองแบงก์ใหญ่ ชี้ยังเร็วเกินไปที่จะเสนอ ครม.ปรับแก้รายละเอียดโครงการ
หลังจากที่เริ่มมีกระแสหนาหูถึงโครงการบ้านประชารัฐว่าส่อแววล่ม และอาจจะกลายเป็นฝันค้างสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการที่จะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง เนื่องจากยอดปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐทั้ง 3 แห่งที่ร่วมสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อโครงการดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย อยู่ในระดับที่สูง แม้จะมีประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้ความสนใจเข้ายื่นขอสินเชื่อโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมากก่อนหน้านี้ก็ตาม
ในขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐขยายเพดานของราคาบ้านที่เข้าร่วมโครงการจากไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 1.7 ล้านบาทเพื่อเป็นการขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น เพิ่มโอกาสในการขายได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการซื้อบ้านราคา 1.5 ล้านบาทนั้นส่วนใหญ่มีปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงินในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ส่งผลกับยอดขายของผู้ประกอบการเหล่านั้น
ล่าสุด ผู้บริหารของธอส. ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า หลังจากที่ได้ร่วมหารือกับกระทรวงการคลังและธนาคารออมสินถึงประเด็นดังกล่าว ได้ข้อสรุปออกมาว่าโครงการบ้านประชารัฐจะยังเดินหน้าต่อไป โดยจะไม่มีการแก้ไขหรือปรับปรุงเกณฑ์ใดๆ ของมาตรการดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการคลังให้เหตุผลว่าเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าโครงการมีปัญหา หรือจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการ
สำหรับโครงการบ้านประชารัฐเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่พยายามช่วยเหลือให้ผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 3 แห่ง สนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการที่ต้องการร่วมโครงการดังกล่าว
สำหรับวงเงินปล่อยสินเชื่อในโครงการบ้านประชารัฐนี้ ครม.อนุมัติให้แก่ ธอส.และธนาคารออมสินปล่อยกู้แห่งละ 20,000 ล้านบาท โดยแต่เดิม ธอส.ตั้งจะปล่อยกู้ได้หมดภายใน 3-4 เดือน แต่ปัจจุบัน ยอดปล่อยสินเชื่อของธนาคารอยู่ที่ 5,200 ราย วงเงิน 4,700 ล้านบาท ส่วนธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อแล้ว 2,535 ราย วงเงิน 3,000 ล้านบาท
อัพเดทข่าวอสังหาริมทรัพย์ ทางอีเมลส่งตรงจากเว็บไซต์อสังหาฯ อันดับ 1 ของเมืองไทยฟรี สมัครได้ที่นี่

ประเภทสัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์

ประเภทสัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์

โพสต์เมื่อ 18 มกราคม 2559

สำหรับผู้ที่ต้องการขายอสังหาริมทรัพย์ให้ได้ในราคาที่เหมาะสม และในระยะเวลาที่ค่อนข้างเร็ว  การใช้บริการนายหน้าหรือตัวแทนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ได้  อีกทั้งนายหน้าและตัวแทนฯ จะมีความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการขายอสังหาริมทรัพย์จึงสามารถให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการขายอสังหาริมทรัพย์ได้เป็นอย่างดี  และเพื่อให้การทำงานระหว่างตัวแทนฯ กับเจ้าของอสังหาฯ นั้นเป็นไปด้วยความราบรื่นจึงจำเป็นต้องมีการทำสัญญานายหน้าหรือตัวแทนอสังหาฯ ขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างสองฝ่ายในเรื่องหน้าที่ ระยะเวลาและผลตอบแทน  ซึ่งเราได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญานายหน้าและตัวแทนฯ ไปแล้วในครั้งก่อน  และในครั้งนี้ DDproperty อยากชวนคุณมาทำความรู้จักสัญญานายหน้าหรือตัวแทนฯ ประเภทต่างๆ  รวมไปถึงข้อดี-ข้อเสียของสัญญาแต่ละประเภท  เพื่อให้คุณสามารถเลือกสัญญาที่เหมาะสมและได้รับประโยชน์สูงสุดครับ
ประเภทสัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัญญานายหน้าและตัวแทนฯ แบบเปิด  และสัญญานายหน้าและตัวแทนฯ แบบปิด  ซึ่งสัญญาทั้งสองแบบนี้มีประเด็นความแตกต่างอยู่ที่บุคคลซึ่งจะมีสิทธิ์ขายหรือเป็นนายหน้าของอสังหาฯ นั้นๆ  โดยสัญญาฯ แบบปิดจะจำกัดสิทธิ์ผู้ที่ขายและเจาะจงนายหน้ามากกว่าสัญญาฯ แบบเปิด  
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบเปิด
ลักษณะของสัญญาประเภทนี้จะคล้ายๆ กับการบอกขายอสังหาฯ ต่อๆ กันไปโดยไม่จำกัด เพียงแต่มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้อยู่ในรูปสัญญาเท่านั้น ระบุผลตอบแทนของนายหน้า และตั้งราคาขาย  โดยสัญญาแบบเปิดนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของอสังหาฯ หรือผู้ขาย สามารถใช้บริการนายหน้าหรือตัวแทนฯ ได้หลายรายพร้อมๆ กัน  โดยจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับนายหน้าหรือตัวแทนที่เป็นผู้ชี้ช่องทางไปสู่ผู้ซื้อและเกิดการซื้อขายได้เพียงรายเดียวเท่านั้น  นอกจากนี้สัญญาฯ แบบเปิดยังเปิดโอกาสให้เจ้าของทรัพย์สามารถขายอสังหาฯ ด้วยตัวเองได้  และในกรณีที่เจ้าของขายอสังหาฯ ได้ด้วยตนเองก็ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่นายหน้าหรือตัวแทนฯ ใดๆ ทั้งสิ้น   
ข้อดีและข้อเสีย
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบเปิดมีข้อดีคือ สามารถใช้นายหน้าหรือตัวแทนฯ หลายๆ ราย ทำหน้าที่พร้อมๆ กันได้  ทำให้อสังหาริมทรัพย์กระจายออกไปอย่างกว้างขวางผ่านทางช่องทางการตลาดของนายหน้าแต่ละเจ้า ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย และมีโอกาสที่จะขายได้เร็วขึ้น  ที่สำคัญคือไม่ปิดโอกาสที่เจ้าของอสังหาฯ จะขายด้วยตนเอง  อีกทั้งสัญญาฯ แบบเปิดมักไม่จำกัดระยะเวลาจึงไม่ต้องต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาใหม่บ่อยๆ 
ส่วนข้อเสียของสัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบเปิดคือ  ความพยายามในการขายของนายหน้าและตัวแทนฯ จะต่ำกว่า  เนื่องจากรับรู้ว่ามีการแข่งขันสูงจากนายหน้าและตัวแทนฯ รายอื่นๆ ที่เจ้าของเลือกใช้บริการอยู่พร้อมๆ กัน  ทำให้มีโอกาสที่ทรัพย์สินจะขายออกช้ากว่าเช่นกัน   อีกทั้งนายหน้าและตัวแทนไม่ชอบสัญญาที่ไม่เจาะจงเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับค่าตอบแทนเต็มจำนวนเนื่องจากมีนายหน้าและตัวแทนฯ รายอื่นเข้ามาขอส่วนแบ่ง  อีกทั้งการไม่กำหนดระยะเวลาทำให้นายหน้าและตัวแทนไม่เร่งรีบ กระตือรือร้นที่จะผลักดันการขาย  และสุดท้ายคือการใช้นายหน้าหรือตัวแทนหลายคนทำให้เสี่ยงต่อการบวกส่วนต่างเพิ่มเติม และมีการบิดเบือนข้อมูลต่างๆ เกิดขึ้น  จนการขายขาดความน่าเชื่อถือและผู้ซื้อขาดความเชื่อมั่นที่จะซื้อในที่สุด
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบปิด
สัญญาฯ แบบปิดนี้ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ อีก 2 ประเภท ตามลักษณะการปิด ได้แก่ สัญญาฯ แบบปิดทุกราย และสัญญาฯ แบบปิดเฉพาะราย  
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบปิดทุกราย
สัญญาฯ แบบปิดทุกรายนั้นมีลักษณะที่เข้าใจได้ตามชื่อ คือเป็นการปิดการขายทุกๆ ทาง ยกเว้นการขายโดยนายหน้าหรือตัวแทนที่เจ้าของใช้บริการเพียงรายเดียวเท่านั้น หรือกล่าวคือจะมีนายหน้าหรือตัวแทนเพียงรายเดียวตามที่ระบุในสัญญาฯ เท่านั้นที่จะได้รับผลตอบแทนจากการขายอสังหาริมทรัพย์นี้  แต่การใช้นายหน้าเพียงเจ้าเดียวก็ไม่ทำให้การกระจายทรัพย์นั้นอยู่ในวงแคบกว่าสัญญาแบบเปิด เพราะนายหน้ายังสามารถส่งข้อมูลไปยังแวดวงนายหน้าด้วยกันได้เพื่อเข้าถึงผู้ซื้อที่มีความต้องการ  โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีการแย่งขายตัดหน้ากัน  ข้อสังเกตคือสัญญาฯ แบบปิดนี้มักจะมีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาที่แน่นอนเอาไว้ด้วย
สัญญานายหน้าและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์แบบปิดเฉพาะราย
สัญญาฯ แบบปิดเฉพาะราย  การปิดเฉพาะรายนั้นหมายถึงผู้ซื้อ โดยนายหน้าหรือตัวแทนฯ ในสัญญาประเภทนี้จะระบุชื่อผู้ซื้อเอาไว้ โดยถ้าหากผู้ซื้อในรายชื่อนั้นตกลงซื้อไม่ว่าจะผ่านนายหน้าหรือไม่ก็ถือว่าเป็นการซื้อผ่านนายหน้า และเจ้าของทรัพย์จะต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่นายหน้า  สัญญาจะครอบคลุมเฉพาะผู้ซื้อที่อยู่ในรายชื่อเท่านั้น  ดังนั้นเจ้าของยังคงสามารถขายอสังหาฯ ให้กับบุคคลอื่นที่อยู่นอกรายชื่อได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนให้นายหน้า  หรือสามารถทำสัญญานายหน้าแบบปิดเฉพาะรายกับนายหน้ารายอื่นที่มีรายชื่อผู้ซื้อไม่ตรงกันได้  ถ้าหากนายหน้าพบผู้ซื้อที่สนใจแต่อยู่นอกรายชื่อก็จะทำบันทึกรายชื่อแล้วแจ้งให้เจ้าของทรัพย์ทราบเพื่อระบุว่าผู้ซื้อรายดังกล่าวมาจากการขายของตน  
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีของสัญญาฯ แบบปิดคือ ผู้ขายสามารถทราบได้อย่างชัดเจนว่าผู้ซื้อนั้นมากจากนายหน้าหรือตัวแทนรายไหน  โดยเฉพาะสัญญาฯ แบบปิดทุกราย ผู้ซื้อทุกคนย่อมมาจากนายหน้าหรือตัวแทนเพียงรายเดียวอย่างแน่นอน และสำหรับสัญญาฯ แบบปิดเฉพาะรายก็สามารถทราบได้จากการตรวจสอบรายชื่อของนายหน้าหรือตัวแทนแต่ละเจ้า  ขณะเดียวกันเจ้าของก็ไม่เสียโอกาสที่จะขายเองให้กับบุคคลอื่นที่อยู่นอกเหนือรายชื่อของนายหน้าและตัวแทนอีกด้วย  การทำสัญญาฯ แบบปิดทำให้ตัวแทนฯ มีแรงจูงใจที่จะขายมากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวัลเรื่องการแข่งขันระหว่างนายหน้าด้วยกันเอง นายหน้าจึงชอบสัญญาฯ แบบปิดมากกว่าสัญญาฯ แบบเปิด  ขณะเดียวกันนายหน้าจะกระตือรือร้นในการขายเนื่องจากเป็นสัญญาที่ระบุระยะเวลาสิ้นสุด  จึงมีโอกาสที่จะช่วยเพิ่มความเร็วในการขายให้ไวขึ้น  อีกทั้งข้อมูลการขายที่ออกไปโดยนายหน้าก็สามารถตรวจได้เพราะใช้บริการนายหน้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้น  
ส่วนข้อเสียคือการขาดการแข่งขันกันก็อาจทำให้ข้อมูลการขายกระจายอยู่ในวงแคบๆ ตามเครือข่ายของนายหน้าที่ใช้บริการ อาจเป็นการลดโอกาสที่อสังหาฯ จะขายออกลงเช่นกัน       
เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ chetapol@ddproperty.com

EP.1 สอนทำนายหน้าขายบ้าน ขายอสังหาฯ แบบไม่กัก อยากเริ่มทำอาชีพนายหน้าขายบ้าน สอนขายบ้าน

  สอนทำนายหน้าขายบ้าน ขายอสังหาฯ แบบไม่กัก อยากเริ่มทำอาชีพนายหน้าขายบ้าน EP.1 สอนทำนายหน้าขายบ้าน ขายอสังหาฯ แบบไม่กัก อยากเริ่มทำอาชีพนายห...